Royal Thai Air Force Special Operations Regement | Slay Man

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

Royal Thai Air Force Special Operations Regement

 Royal Thai Air Force Special Operations Regement

Anti-Terrorism Commandos


ถ้าพูดถีง"จนท.ปฏิบัติการพิเศษ ร้อย.๑ พัน.๑ กรม ปพ."บางอาจจะนึกไม่ออก ว่าหมายถึงใคร แต่ถ้าพูดถึง "คอมมานโด" คงจะเป็นชื่อที่คุ้นเคยกันทุกคน โดยมีหน้าที่ ต่อต้านการก่อการร้ายสากล และอารักขาบุคคลสำคัญ มีความชำนาญในการยิงปืน การต่อสู้ป้องกันตัว การโดดร่มทางยุทธวิธี เป็นชุดปฏิบัติการ ที่มีหน้าที่ในการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายสากล สามารถซ่อนตัว เพื่อทำหน้าที่พลซุ่มยิง ได้เป็นเวลายาวนาน และใช้อาวุธปืนได้อย่างแม่นยำ ได้รับการฝึกใช้ปืนกลมือ ปืนพก และวัตถุระเบิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังได้รับการฝึกฝนการต่อสู้ป้องกันตัว มีความเข้าใจ และใช้เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร มีขีดความสามารถ ในการปฏิบัติการในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปราบปรามการปล้นยึดอากาศยาน (ANTI-HIJACK) ถือว่าเป็นหน้าที่หลัก ของชุดปฏฺบัติการพิเศษ นอกจากนั้นยังปฏิบัติหน้าที่ รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่คอมมานโด ของกองทัพอากาศนั้น นอกจากจะคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และ มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว จะต้องสำเร็จการฝึกศึกษา หลักสูตรรบพิเศษอื่นอีก เช่น
- หลักสูตรคอมมานโด ของกองทัพอากาศ (หลักสูตรบังคับ) และมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งสำเร็จหลักสูตรคอมมานโด ของต่างประเทศ
-หลักสูตรจู่โจม , หลักสูตรแทรกซึมเบื้องสูง ของกองทัพบก
-หลักสูตรการรบพิเศษ แขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก และจู่โจม , หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ของกองทัพเรือ
-หลักสูตรของต่างประเทศ เช่น พลซุ่มยิงของออสเตเรีย , GSG-9 ของเยอรมัน
การต่อสู้กับการก่อการร้าย ในยุคปัจจุบัน ฃี่งเป็นยุคโลกไร้พรมแดน เราต้องปรับปรุงขีดความสามารถ เพื่อรับกับเหตุการณ์การก่อการร้าย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนท.คอมมานโดของเรา พร้อมตลอด 24 ชม. มีขีดความสามารถ และผลงานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป..
5. ดำเนินการเกี่ยวกับ การรักษาความปลอดภัย การดับเพลิง การสรรพวุธ การรักษาพยาบาล และส่งกลับสายการแพทย์


Para-Jumpers - Search and Rescue

 

กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ๑ กองพันปฏิบัติการพิเศษ๒ กรมปฏิบัติการพิเศษ
มีงานในความรับผิดชอบหลักๆคือ
๑.ค้นหาและกู้ภัย(Search And Rescue..คือมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทางอากาศจากอากาศยานอุบัติเหตุ ทั้งในพื้นที่การรบและ พื้นที่ปกติ
๒.ควบคุมการรบ (Combat Control Team)...ทำสนามโดดร่ม(DZ) เตรียมการขึ้น-ลงของอากาศยาน ณ สนามบินฉุกเฉิน ควบคุมการโจมตี ทางอากาศที่อาจทำให้เกิดอันตราย ต่อหน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน (Close AIR Support)
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการช่วยชีวิต (PJ) มีหน้าที่หลักในการปฏิบัติการช่วยชีวิตนักบิน หรือผู้ทำการ ในอากาศในพื้นที่การรบ สามารถเข้าปฏิบัติการ ได้ทุกพื้นที่ปฏิบัติการ ได้แก่ พื้นที่ป่า ภูเขา ทางน้ำ หรือในทะเล และมีขีดความสามารถ ในการให้การช่วยเหลือ ด้านการรักษาพยาบาล ผู้รอรับการช่วยชีวิต นอกจากการปฏิบัติงานด้านการค้นหา และช่วยชีวิตแล้ว ยังปฏิบัติหน้าที่ชุดควบคุมการรบ (COMBAT CONTROL TEAM) โดยให้การสนับสนุนกำลังทางอากาศ ในการเตรียมพื้นที่ร่อนลง ตำบลส่งลงสิ่งอุปกรณ์ (CDS) เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ต่ออากาศยานที่เข้าปฏิบัติในพื้นที่อันตราย
บุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการช่วยชีวิต(PJ)ได้ นั้น จะต้องผ่านการคัดเลือกและเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วย ชีวิตเป็นเวลาประมาณ 24 สัปดาห์

 Airborne

 

ฝ่ายสนับสนุนส่งทางอากาศ แผนกสนับสนุน กรมปฏิบัติการพิเศษ
เริ่มก่อก่อตั้งเมื่อปี2522 เป็นสนามฝึกโดดร่ม กองทัพอากาศ ขึ้นตรงกับ กองยุทธการ กรมอากาศโยธิน
ปี 2527 เปลี่ยนเป็น คลังเก็บร่มชูชีพ ขึ้นตรงแผนกสนับสนุน กรมอากาศโยธิน
ปี 2534 เปลี่ยนเป็น กองร้อยส่งทางอากาศ กองปฏิบัติการพิเศษ กรมอากาศโยธิน
ปี 2539 เปลี่ยนเป็น ฝ่ายสนับสนุนส่งทางอากาศ แผนกสนับสนุน กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ(ตามอัตรา ทอ.39)
ปฏิบัติหน้าที่ ในด้านการให้การสนับสนุน การส่งทางอากาศ การพับ และการซ่อมบำรุงร่ม พร้อมอุปกรณ์ ตลอดจนการเก็บรักษา และแจกจ่ายร่มพร้อมอุปกรณ์ ให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ นอกจากนั้นยังปฏิบัติหน้าที่ ในการฝึกอบรมผู้ทำการในอากาศ ประเภทนักโดดร่มจากอากาศยานเป็นประจำ ให้มีขีดความสามารถ ในการโดดร่มทางยุทธวิธี และทางกีฬา

 K9

กรมปฏิบัติการพิเศษได้จัดให้สุนัขทหารมีหน้าที่..
ป้องรักษาความปลอดภัยที่ตั้งทางทหาร
มีขีดความสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการปราบปรามการก่อการร้ายสากล
และปฏิบัติการพิเศษอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
ปัจจุบัน ทอ.มีสุนัขทหารใช้งาน ๔ ประเภท
๑.สุนัขทหารยามสายตรวจ
๒.สนัขทหารตรวจค้นยาเสพย์ติดให้โทษ
๓.สุนัขทหารตรวจค้นพัสดุภัณฑ์ระเบิด
๔.สุนัขทหารสะกดรอย

 Base Defense

 

ยานเกราะติดอาวุธขนาดเบาที่บรรจุมาใน ทอ.มี 2 แบบคือ
1.รถเกราะ CONDOR
2.รถเกราะ V-150
จากความสามารถในเรื่อง
* ความรุนแรงในการโจมตี
* ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย(โดยอากาศยาน)
* ความสามารถในการบรรทุกกำลังพล
* การป้องกันตัวเอง
ด้วยคุณลักษณะที่กล่าวมาทำให้ยานเกราะถูกใช่ในลักษณะการป้องปรามมากกว่าจะใช้โจมตีเป้าหมาย

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น